วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พัฒนาการทางด้านร่างกาย
พัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กในระยะก่อนวัยเรียนจะมีพัฒนาการในอัตราส่วนเปลี่ยนแปลของร่างกายค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับวัยทารก  น้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้นแต่ไม่มาก  ร่างกายส่วนต่างเริ่มเปลี่ยนแปลง เช่นแขนขายาวมากขึ้น ศีรษะยาวขึ้นและเริ่มเล็กลงฟันน้ำนมยังไม่เจริญเต็มที่  กระดูกแข็งแรงมากขึ้นกว่าเดิม กล้ามเนื้อและปราสาทสัมผัสต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น เด็กในวัยนี้เริ่มควบคุมอวัยวะส่วนต่างๆได้มากขึ้น การเล่นกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายและช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญาได้เป็นอย่างดี
           การพัฒนาการทำงานประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่ อวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนไหวของเด็กวัยนี้เป็นช่วงสำคัญอย่างยิ่ง กล้ามเนื้อแขน ขาและข้อต่างๆของเด็กเจริญขึ้นเรื่อยๆจนเกือบสิ้นสุด รวมทั้งมีการพัฒนาความสามารถในการใช้งานของร่างกายและข้อต่อต่างๆ พัฒนาการเหล่านี้มีผลต่อการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของเด็ก  ลักษณะการเดิน  การวิ่งของเด็กในวัยนี้จะแตกต่างจากวัยทารก เริ่มมีความใกล้เคียงกับวัยผู้ใหญ่มากขึ้น มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อดีขึ้น ซึ้งมีผลมาจากกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงนั้นเองสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงได้มากของเด็กในวัยนี้คือ  การเดิน  การวิ่ง  การปีนป่าย  การคว้าปาลูกบอล  การกระโดด  การปั่นจักรยาน  เป็นต้น  แต่ในส่วนของกล้ามเนื้อเล็ก  หรือกล้ามเนื้อของมือนั้น  เด็กในวัยนี้พบว่ายังพัฒนาได้ไม่ดีและยังไม่เต็มที่เหมือนกล้ามเนื้อใหญ่ที่ใช้ในการเคลื่อนไหว แม้ว่ากล้ามเนื้อเล็กจะพัฒนาได้ไม่ดีเท่ากล้ามเนื้อใหญ่แต่ความสามารถพบของเด็กในวัยนี้  ได้แก่ การเริ่มใช่มือจับดินสอลากเส้น  ขีดเขียนการใช้กรรไกร  การผูกเชือก  การติดกระดุม  การถือและจับของที่มั่นคงมากขึ้น รวมทั้งการใช้ปลายนิ้วในการหยิบจับวัตถุขนาดเล็กได้ดีมากขึ้นอีกด้วย
             เนื่องจากเด็กในวัยนี้เป็นวัยเริ่มต้นในการเรียนรู้และเตรียมตัวเข้าสู่ช่วงเวลาที่จะต้องทำกิจกรรมมากขึ้น รวมทั้งการปรับตัวเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมกับบุคคลอื่นๆ  ทั้งในบ้านและในสังคม  ดังนั้นพ่อแม่ ผู้ปรกครองจึงควรส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กให้พร้อม เพื่อให้เด็กสามารถปฏิบัติกิจกรรมอื่นๆต่อไปได้ นอกจากนี้ พ่อแม่ และผู้ปรกครองควรส่งเสริมทักษะการช่วยเหลือตนเองของเด็กในวัยนี้ เช่น การรับประทานอาหารการถอดเสื่อผ้า การใส่เสื่อผ้า เป็นต้น ควบคู่กันไปด้วย
พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม
      เด็กในระยะก่อนวัยเรียน เป็นช่วงที่มักมีอารมณ์และพฤติกรรมดื้อรั้น เอาแต่ใจตัวเอง เจ้าอารมณ์ อยู่ในช่วงปฏิเสธ(Negativistic   Phase)เด็กในวัยนี้เริ่มมีลักษณะอารมณ์ประเภทต่างๆ เหมือนผู้ใหญ่เช่น อารมณ์โกรธ  อารมณ์อิจฉา  อารมณ์อยากรู้อยากเห็น  อารมณ์เห็นอกเห็นใจ   อารมณ์ก้าวร้าว  อารมณ์อวดดี  อารมณ์สนุกสนาน เป็นต้น  อารมณ์โกรธ  เป็นอารมณ์ที่พบมากสำหรับเด็กในวัยนี้ เนื่องจากเด็กอยากเป็นตัวของตัวเองจึงแสดงออกในลักษณะอยากเอาชนะ บางครั้งเด็กแสดงอารมณ์โกรธ โดยการร้องไห้  กระทืบเท้า  กระโดด  ทำร้ายตัวเอง  กรีดร้อง  เป็นต้น  อารมณ์อวดดี  เป็นอารมณ์ที่พบมากในวัยนี้เช่นกันอารมณ์นี้เกิดจากเด็กที่มีความต้องการอยากทำอะไรด้วยตัวเอง  แต่มักจะได้รับการห้ามปรามหรือไม่ตามใจจึงทำให้เด็กบางคนแสดงออกเป็นพฤติกรรมการนิ่งเฉยไม่ตอบโต้  การไม่ปฏิบัติตรงข้าม หรือแสร้งทำกิจกรรมต่างๆให้ช้าลง เป็นต้น
    เด็กในวัยนี้มักแสดงถึงลักษณะการเป็นเด็กชั่งซัก  ชั่งถาม  ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของพัฒนาการทางอารมณ์ด้านความอยากรู้อยากเห็นเด็กเริ่มพัฒนาและรู้จักการใช้เหตุผล ชั่งตั้งคำถาม ถ้าผู้ปรกครองสนองตอบอารมณ์ชนิดนี้ของเด็กได้อย่างเหมาะสมจะช่วยให้การใช้เหตุผลของเด็กพัฒนาเร็วขึ้นนอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเอง สังคมรวมถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวดีขึ้นด้วยผู้ปรกครองจึงควรเข้าใจและตอบคำถามของเด็กอย่างเอาใจใส่เหมาะกับวัยและสติปัญญาของเด็ก ถ้าเด็กรู้สึกว่าผู้ใหญ่พอใจหรือได้รับโทษจากการซักถาม การซักถามจะค่อยๆหายไป ซึ้งอาจมีผลให้เด็กมีนิสัยไม่อยากรู้อยากเห็นจะเกิดนิสัยเชื่อง่ายต่อไปได้
ส่วนพัฒนาการทางสังคมของเด็กในวัยนี้จะได้รับพัฒนาต่อเนื่องจากช่วงวัยทารก เด็กวัยนี้เริ่มเรียนรู้การเข้าหาบุคคลอื่น  เริ่มอยากเล่นและคบหากับเด็กในวัยใกล้เคียงกัน  แต่อาจะทำได้ไม่มากนักเพราะยังไม่รู้จักการให้และการรับ  ดังนั้นจะเห็นว่าเด็กในวัยนี้เล่นกับเพื่อนได้ไม่นานจะมีเรื่องทะเลาะกัน  แต่ไม่นานจะกลับมาเล่นกันใหม่  เด็กในวัยนี้มักจะชอบเพื่อนที่ตามใจตนเองมากกว่าเพื่อนที่ชั่งฟ้อง  หรือไม่คลายตามตัวเอง  สิ่งที่พบมากในเด็กวัยนี้คือ  การเล่นหรือการสร้างโลกสมมุติขึ้น  เป็นการเลียนแบบจากในครอบครัวจากโทรทัศน์หรือประสบการณ์อื่นๆ  จะเห็นได้ว่าการเล่นกับเด็กในวัยนี้มีความสัมพันธ์กันมากเพราะช่วยให้เด็กเกิดพัฒนาการต่างๆ  ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อม  ช่วยให้เด็กรู้จักการเข้าสังคมกับบุคคลอื่น  ลักษณะการเล่นและเรื่องราวที่เล่น  เป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกถึงสติปัญญา  บุคลิกภาพ  ลักษณะอารมณ์  ความสามารถของเด็ก  พื้นฐานของครอบครัวและเพศ
พัฒนาการด้านสติปัญญา
   การพัฒนาความสามารถด้านสติปัญญาสำหรับเด็กในวัยนี้ควรพัฒนาและสมาธิที่ดี  ในด้านกระบวนการคิดควรพัฒนาให้เด็กเป็นคนคิดไวคิดเป็นระบบ  คิดสร้างสรรค์  และสามารถคิดเชื่อมโยงเหตุและผลต่างๆ  ตลอดจนสามารถจินตนาการสร้างภาพในใจได้  เน้นการแก้ปัญหารวมถึงการทำงานประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา